ที่มาของเพลงลูกทุ่ง เพลงลูกทุ่ง หมายถึง เพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคม อุดมคติและวัฒนธรรมไทย มีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง ลีลาการร้อง การบรรเลง ที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งให้บรรยากาศของความเป็นลูกทุ่ง โดยเฉพาะการร้องเอื้อนที่ใช้ลูกคอ
เพลงที่มีแนวเป็นเพลงลูกทุ่ง และบันทึกไว้เป็นหลักฐานคือ เพลง สาวชาวไร่ ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของ ครูเหม เวชกร ใช้ร้องประกอบการแสดงละครวิทยุเรื่อง สาวชาวไร่ ใน พ.ศ. ๒๔๘๑ จากหลักฐานที่ค้นพบมีเค้าที่น่าเชื่อว่า เพลงสาวชาวไร่ เป็นเพลงลูกทุ่งเพลงแรกของเมืองไทย
การตีความเรื่องกำเนิดของเพลงลูกทุ่งยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง กาญจนาคพันธ์ เขียนไว้ในหนังสือ เรื่องของละครและเพลง ว่า “หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว มหรสพต่างๆ ก็เริ่มฟื้นตัวขึ้น…เกิดเพลงแบบใหม่เรียกกันว่า เพลงลูกทุ่ง ตั้งเป็นวงดนตรีแบบสากล” ส่วน พยงค์ มุกดา เห็นว่า เรื่อง แผลเก่า ของไม้เมืองเดิม มีเพลงขวัญของเรียม ซึ่งพรานบูรพ์แต่งขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๘๒ น่าจะถือเป็นแม่บทของเพลงลูกทุ่งได้ เพราะมีลูกเอื้อน ลูกขัด และสาระเนื้อหาแบบเพลงลูกทุ่ง
อาจสรุปพัฒนาการของเพลงลูกทุ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยใช้เกณฑ์การจัดแบ่งยุคต่างๆ ซึ่งเหล่านี้ จากเนื้อหาของเพลง และรูปแบบที่โดดเด่น ของเพลงลูกทุ่งในแต่ละช่วงเวลา ดังต่อไปนี้ นักร้องลูกทุ่งที่ได้รับความนิยม เช่น สายัณห์ สัญญา ซึ่งนับว่าเป็นขวัญใจเพลงลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังมีคนอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมเช่นกัน เช่น ยอดรัก สลักใจ สุรชัย สมบัติเจริญ ศรชัย เมฆวิเชียร ศรเพชร ศรสุพรรณ ส่วนนักร้องหญิง เช่น พุ่มพวง ดวงจันทร์ ซึ่งได้รับสมญาราชินีเพลงลูกทุ่ง อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์เนื่องจากการที่มีคำว่า “เพลงลูกทุ่ง” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการนำเสนอ ผ่านรายการโทรทัศน์ ทำให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลาย และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื้อหาของเพลงมีหลากหลาย เช่น บรรยายถึงชีวิตในชนบท สะท้อนชีวิตสาวชาวนา ที่หลงแสงสีเมืองกรุง ใน พ.ศ. ๒๕๐๙ มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ ๒
สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะ นักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม ในเพลง ช่อทิพย์รวงทอง นักร้องที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของผู้ฟังทั่วไป เช่น ทูล ทองใจ ปอง ปรีดา ไพรวัลย์ ลูกเพชร พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ก้าน แก้วสุพรรณ เพลงลูกทุ่งมาถึงยุคเฟื่องฟูมากที่สุดในยุคของ สุรพล สมบัติเจริญ (ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๑๑)สุรพล สมบัติเจริญ ได้รับสมญาว่า เป็นราชาเพลงลูกทุ่ง เนื่องจาก มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ในด้านการแต่งคำร้องทำนองที่แปลกไม่เหมือนใคร เนื้อหาของเพลงมีทั้งที่เป็นความรัก การเกี้ยวพาราสี ความประทับใจ และสนุกสนาน ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมีมากมาย อาทิ ชูชกสองกุมาร เพลงแรกๆ ที่โด่งดังใน พ.ศ. ๒๔๙๖
เช่น น้ำตาจ่าโท เดือนหงายริมโขง เสียวไส้ ของปลอม สิบหกปีแห่งความหลัง ฯลฯ จนกระทั่งสุรพล สมบัติเจริญ ถูกลอบยิงเสียชีวิตขณะเปิดการแสดง เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
ภายหลังการเสียชีวิตของสุรพล สมบัติเจริญ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากสมัยที่สุรพลยังมีชีวิตอยู่นั้น ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงอย่างท่วมท้น นักร้อง และวงดนตรีใหม่ๆ จึงไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับของผู้ฟัง จนกระทั่งสุรพลเสียชีวิต จึงเปิดโอกาสให้นักร้องใหม่ และวงดนตรีใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย และมีโอกาสเสนอผลงานของตนสู่สาธารณชน
ยุคภาพยนตร์เพลง (พ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๑๕)
เมื่อมีการแข่งขันกันเองระหว่างเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งในยุคนี้ จึงเริ่มนำเพลงลูกทุ่งมาประกอบในภาพยนตร์ ซึ่งเรื่องแรกที่โด่งดัง เป็นที่กล่าวขวัญถึงเป็นอย่างมากคือ มนต์รักลูกทุ่ง โดยเฉพาะเพลงมนต์รักลูกทุ่ง ที่ไพบูลย์ บุตรขัน เป็นผู้แต่ง ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร มีความไพเราะ ทั้งท่วงทำนอง และเนื้อหา ดุจบทกวีที่ประทับใจผู้ชม เช่น “หอมเอย หอมดอกกระถิน รวยระรินเคล้ากลิ่นกองฟาง…หอมดินเคล้ากลิ่นไอฝน ครวญระคนหอมแก้มนงคราญ ขลุ่ยเป่าแผ่วพลิ้วผ่านทิวแถวต้นตาล มนต์รักเพลงชาวบ้านลูกทุ่งแผ่วมา” ส่งผลให้ภาพยนตร์เรื่องต่อๆ มาในยุคนี้ เปลี่ยนแนวมาเป็นภาพยนตร์เพลงส่วนใหญ่ เช่น เรื่อง โทน ที่มีสังข์ทอง สีใส ร้องนำ เนื้อหาของเพลงในช่วงนี้ นอกจากเป็นเรื่องของชาวชนบทท้องทุ่งท้องนาแล้ว ยังแทรกอารมณ์ขันและคารมเสียดสีด้วย
ยุคหางเครื่องและคอนเสิร์ต (พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๒๕๒๘)หลังเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เนื้อหาของเพลงลูกทุ่งที่เกี่ยวกับความทุกข์ยากของชาวนา กรรมกร และแนวเพื่อชีวิตมีน้อยลง เนื่องจากการปิดกั้นของภาครัฐ ส่งผลให้กลับมานิยมเนื้อหาด้านการเกี้ยวพาราสีและความรักของหนุ่มสาว ยุคนี้มีนักร้องใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ผลงานหลากหลาย วงดนตรีลูกทุ่งมีการแข่งขันมากขึ้น ใช้เงินลงทุนมากขึ้น ใช้เทคนิคแสง สี เสียงที่ทันสมัย การเต้นประกอบเพลงของหางเครื่องมีความอลังการมากขึ้น เนื้อหาของเพลงในช่วงนี้สะท้อนปัญหาใหม่ๆ ของสังคมเพิ่มขึ้นด้วย เช่น การขายแรงงานในต่างประเทศ การย้ายถิ่นฐานในการประกอบอาชีพของชาวชนบท เข้าสู่เมืองหลวง อาทิ เพลงน้ำตาเมียซาอุ ร้องโดย พิมพา พรศิริ เพลงฉันทนาที่รัก ร้องโดย รักชาติ ศิริชัย ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มเขียนจดหมายถึงสาวคนรักชื่อฉันทนา ที่ทำงานอยู่โรงงานทอผ้า ซึ่งเพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง จนกระทั่งสื่อมวลชนใช้คำว่า “ฉันทนา” แทนผู้หญิงที่ทำงานในโรงงาน เมื่อดนตรีแนวสตริง และแนวร็อก ที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพลงสตริงสำหรับวัยรุ่นแพร่หลายเต็มตลาด ความนิยมเพลงลูกทุ่งเริ่มลดน้อยลง ทำให้เพลงลูกทุ่งต้องปรับตัวให้เข้ากับดนตรีสมัยใหม่ แนวสตริงคอมโบ เพื่อให้เพลงลูกทุ่งกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง นักร้องเพลงลูกทุ่ง ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในยุคนี้ คือ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นนักร้องที่มีศักยภาพสูง มีลีลาการร้อง และการเต้น ที่เข้ากับดนตรีสมัยนิยม และเป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงคนแรก ที่ได้บุกเบิกมิวสิกวิดีโอของวงการเพลงไทย ผลงานชุดแรกของพุ่มพวง ดวงจันทร์ คือ อื้อหือ หล่อจัง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง ทำลายเส้นแบ่งรสนิยมของผู้ฟัง ซึ่งก่อนหน้านี้ถือว่า ผู้ที่มีรสนิยมดีต้องฟังเพลงสากล เพลงลูกกรุง เพลงสตริง แต่เพลงลูกทุ่งของพุ่มพวงเป็นเพลงที่ได้รับความนิยม และฟังได้ทุกชนชั้น เนื้อหาของเพลงได้เปลี่ยนบทบาทของผู้หญิงจากเดิม ที่ต้องเก็บกดความรู้สึก หรือเป็นฝ่ายถูกกระทำ มาเป็นผู้หญิงที่กล้าพูด กล้าทำ กล้าเปิดเผยความรู้สึก ฉลาดรู้ทันคน
อ่านเพิ่มเติม การใช้งาน Google Docs ซีรีส์ญี่ปุ่นที่ดีที่สุดจาก 20 ปีที่ผ่าน joker 2019 JOKERSlotxo
Last Update : 7 พฤษภาคม 2021 (ข้อมูลล่าสุดปี 2021)
Written by: Pond