• zlotxo
  • โปรโมชั่น สล็อต
  • เกมส์ที่มีใน SLOTXO
  • Zlotxo คืออะไร
    1. หน้าหลัก
    2. สาระน่ารู้

    การทำแผนที่ในประเทศไทย

    การทำแผนที่ในประเทศไทย

    การทำแผนที่ในประเทศไทย

    การทำแผนที่ในประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศส แผนที่ที่ทำขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเป็นแผนที่อย่างหยาบๆซึ่งมีรูปร่างไม่เหมือนความเป็นจริง มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการค้าขายและกิจการทหาร ต่อจากสมัยพระนารายณ์ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีผู้ใดทำแผนที่ของประเทศไทยขึ้นอีก   วิทยาการเกี่ยวกับการทำแผนที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่มีการทำแผนที่อย่างจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสประเทศทางเกาะชวา แหลมมลายูและอินเดีย พระองค์ทรงชักชวนนายเฮนรี อาลาบาส  ตอร์ ราชทูตอังกฤษเข้ามาเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ และได้มีการจัดตั้งกองการทำแผนที่ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2418 ต่อมาได้ว่าจ้างนักทำแผนที่ชาวอังกฤษ คือ นายเจมส์ แมคคาร์ที (James Maccarthy) มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ทหาร และพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระวิภาคภูวดล และใน พ.ศ. 2430 แมคคาร์ทีได้รวบรวมแผนที่ที่ทำในประเทศไทย แล้วเดินทางไปยังประเทศอังกฤษเพื่อจัดพิมพ์แผนที่ประเทศไทย จึงมีการพิมพ์ครั้งแรก ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เรียกแผนที่ฉบับนี้ว่า “แผนที่เมืองไทยฉบับแมคคาร์ที”

    ต่อมาเมื่อ พล.ท.พระยาศัลยวิธานนิเทศ ได้รับตำแหน่งเจ้ากรมแผนที่ทหาร ได้นำเทคนิคการทำแผนที่โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2493 การนำเทคนิคนี้มาใช้ ทำให้การสำรวจเพื่อทำแผนที่ทั้งประเทศสะดวกและรวดเร็วขึ้น

    ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว มีการนำภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม และการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) และการสัมผัสระยะไกลเข้าช่วย เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ทำให้การทำแผนที่ประเทศไทยมีความสะดวก ถูกต้อง และรวดเร็วยิ่งขึ้น

    ประวัติแผนที่ประเทศไทย

           แผนที่ปโตเลมีฉบับที่เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.693 เรียกบริเวณที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันว่า Aurea   Khersonesus ซึ่งแปลว่า แหลมทอง (Gloden peninsular) แผนที่ภายในประเทศที่เก่าแก่ที่สุดคือ แผนที่ยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พ.ศ.1893-1912

    ภาพแผนที่ปโตเล พ.ศ.693 เรียกบริเวณที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันว่า Aurea Khersonesus

            การทำแผนที่ภายในเริ่มเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2411 ได้มีการทำแผนที่บริเวณชายพระราชาอาณาเขตด้านตะวันตกของไทย เพื่อใช้กำหนดแนวเขตพรมแดนไทยกับพม่า พ.ศ. 2413 ทำแผนที่กรุงเทพฯ และกรุงธนบุรี โดยชาวต่างประเทศ  ภาพแผนที่พระนครศรีอยุธยาที่ชาวต่างชาติซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายได้เขียนขึ้นไว้

    ภาพแผนที่พระราชอาณาจักรสยาม ฉบับแมคคาร์ธี เป็นผู้รวบรวมพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๓๒ โดยอาศัยข้อมูลจากการสำรวจทั่วประเทศ กับแผนที่ที่อังกฤษและฝรั่งเศสในสมัยนั้นใช้ประกอบในการจัดทำ

           สมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ เพื่อใช้ในการตัดถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ การวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ไปพระตะบอง และทำแผนที่ปากอ่าวเพื่อการเดินเรือ       ใน พ.ศ. 2424 ได้จ้างชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่

    ประวัติแผนที่ในประเทศไทย

          ประวัติการทำแผนที่ของประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คนไทยนิยมทำแผนที่ที่เรียกว่า ลายแทง หมายถึงแผนที่ที่นำไปสู่แหล่งมหาสมบัติ แต่แผนที่ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของความลับมีเก็บไว้เฉพาะตัว ไม่แพร่หลายเหมือนแผนที่ทั่วไปแผนที่ของไทย มีปรากฏอยู่ในแผนที่โลกของ ปโตเลมี ( ptolamy )เป็นนักปราชญ์ชาวกรีซ

    ปโตเลมี ( ptolamy )เป็นนักปราชญ์ชาวกรีซ

         ปโตเลมี ( ptolamy )เป็นนักปราชญ์ชาวกรีซ ที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง มีชีวิตอยู่ประมาณ ค.ศ 90 – 168 ได้รวบรวมความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ไว้ 8 เล่ม ชื่อ geographiaแผนที่ประเทศไทยนับว่าเก่าแก่ที่สุด คือ แผนที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต้นกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 – 1912

    แผนที่ประเทศไทยนับว่าเก่าแก่ที่สุด
    คือ แผนที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

          การทำแผนที่ในประเทศไทยเริ่มจริงจังเมื่อรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือใน พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของ นายเฮนรี่ อาสาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ และในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลไทยได้จ้างชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ โดยมีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมเพื่อโยงหลักฐานทางราบจากอินเดียผ่านพม่าเข้าสู่ไทยทางจังหวัดกาญจนบุรี ถึงกรุงเทพ ฯ และโยงต่อไปยังลาว เขมรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลประสบปัญหาในเรื่องการขาดแคลนแผนที่ภูมิประเทศที่ใช้ในกิจการทหาร และการวางแผนป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือ โดย ส่งหน่วยงานทำแผนที่ มาทำการสำรวจและถ่ายภาพทางอากาศเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศ ขนาดมาตราส่วน 1 : 50,000 ทั่วประเทศ ซึ่งต่อมากรมแผนที่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบัน

    ยุคประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ยุคประวัติศาสตร์สมัยโบราณประมาณ 5000 ปี( ก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ  476 )ได้พบแผนที่สำคัญของยุคนี้คือ แผนที่ชาวบาบิโลน สร้างจากดินเหนียวแผนที่ของชาวอียิปต์เขียนลงบนกระดาษปาปิรุส

    แผนที่ชาวบาบิโลน

    ยุคกลาง แผนที่ในยุคกลางถูกสร้างขึ้นภายใต้ความเชื่อที่ว่าโลกแบนแต่แผนที่เหล่านั้นไม่สามารถนำมาใช่ประโยชน์โดยเฉพาะใช่ในการเดินเรือไม่ได้ จึงมีการสร้างแผนที่ปอร์โตลันขึ้นโดยนักเดินเรือชาวเยนัวซึ่งใช้เข็มทิศเป็นหลักในการสร้างแผนที่

    แผนที่ปอร์โตลัน

    ยุคใหม่ ยุคนี่เป็นยุคปฎิรูปแผนที่กรือยุคฟื้นฟูเกี่ยวกับแผนที่ มีการนำแผนที่ ปโตเลมีซึ้งเขียนยุคประวัติศาสตร์โบราณสมัยกรีกมาแก้ไขให้ถูกต้องมากขึ้น โดยเมอร์เคเตอร์และมีการแก้ไขอีกโดย แคปเลอร์มีการค้นพบดินแดนใหม่และเติมข้อมูลลงไปในแผนที่  ยุคปัจจุบัน นับจากเหตุการสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบันเป้นยุคที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศส่งผลต่อความเจริญกินการทางด้านแผนที่เป็นอย่างมาก

    บันทึกการสำรวจและบุกเบิกในดินแดนสยาม
    (Surveying and exploring in siam)

    เจมส์  แมคคาร์ธี  (พระวิภาคภูวดล  เจ้ากรมแผนที่คนแรก)

    ร.อ.หญิง สุมาลี  วีระวงศ์ (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้แปล
    ลงตีพิมพ์ในวารสารแผนที่ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์

    คำนำ

                    ตลอดเวลาสิบสองปีที่ผ่านมา  (ค.ศ. ๑๘๘๑ – ๙๓)  ข้าพเจ้าวุ่นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบแผนที่ประเทศสยาม  ซึ่งอาจใช้เป็นพื้นฐานสำหรับระบบการสำรวจระดับชาติได้ต่อไป  เมื่อหวนรำลึกถึงกาลครั้งนั้น  ทั้งงานหนัก  ทั้งความรำคาญใจและอุปสรรคนานาประการที่เกิดขึ้นกีดขวางการทำงานด้วยแล้ว  ก็อดเสียมิได้ที่จะรู้สึกแปลกใจที่ยังสามารถประสบความสำเร็จได้ถึงเพียงนี้  ความเปลี่ยนแปลงที่บังเกิดในหน่วยราชการของสยามมีมาเสียจนกระทั่งผู้ที่เคยเห็นแต่สภาพในปัจจุบันจะไม่สามารถนึกฝันได้เลยว่าการทำงานในระบบเดิมนั้นเปลืองแรงกายแรงใจมากเพียงไร

                    เพื่อที่ว่า  ผลงานช่วงเวลาสิบสองปีดังกล่าวจะได้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย  และเข้าใช้ได้ง่าย  ข้าพเจ้าจึงได้มอบบันทึกให้ราชสมาคมภูมิศาสตร์เก็บรักษาไว้  บันทึกเหล่านี้  รวบรวมไว้แต่เหตุการณ์  และข้อสังเกตที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจความก้าวหน้าทางภูมิศาสตร์ทั่วโลก  เป็นบันทึกข้อเท็จจริงที่ได้จากการทำงานอย่างไม่ย่อท้อต่ออันตรายที่เกิดมีขึ้นในบางคราว

                    กรมทำแผนที่ของสยามในปัจจุบันมีเจ้าพนักงานจำนวนมาก  และได้เริ่มต้นงานสำรวจที่ดินตามแบบไปบ้างแล้ว  โดยอาศัยแผนที่สำรวจมาตราส่วนใหญ่บริเวณใกล้เมืองหลวง  และการสำรวจเบื้องต้นด้วยเข็มทิศและโซ่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่ทำสำเร็จไปแล้วนั้นเป็นเครื่องช่วย  และแม้ว่าจะขาดลักษณะผจญภัยอย่างห้าวหาญเช่นนักสำรวจยุคบุกเบิกไปบ้าง  ก็คงจะสามารถสร้างผลประโยชน์เชิงกิจปฏิบัติได้มากอยู่

                    ข้าพเจ้าหวังว่า  ทั้งแผนที่และบันทึกทั้งปวงจะช่วยเพิ่มพูนความสนใจในประชาชนและประเทศที่น่าสนใจอย่างยิ่งอยู่แล้วนี้  และคงจะเป็นประโยชน์แก่นักเดินทางตามสมควรยิ่งกว่าอื่นใด  ข้าพเจ้าหวังว่าผลงานนี้จะได้เป็นประโยชน์ต่อชาวสยามทั้งหลายด้วย

    ในปี ค.ศ.๑๘๘๑  ข้าพเจ้าเริ่มเตรียมการทำแผนที่ทั่วไปสำหรับประเทศสยาม  หลังจากต้องประสบเรื่องน่ารำคาญต่าง ๆ  จนล่าช้าไปถึงสองเดือน  ข้าพเจ้าจึงได้ออกเดินทางพร้อมกับกรรมาธิการชาวสยามสองนาย  เพื่อไปสำรวจเส้นทางที่จะวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ  ผ่านระแหงหรือตากไปยังมะละแหม่ง

                    ชุดการสำรวจเขตแดนด้านตะวันออกของอินเดีย  ได้กำหนดจุดยอดเขาทางตะวันตกของระแหง (Raheng)  ไว้ด้วย  จึงน่าที่จะระบุตำแหน่งของระแหงโดยงานชุดสามเหลี่ยมเล็กโยงยึดกับยอดเขาดังกล่าว  กว่าจะทำสำเร็จข้าพเจ้าก็ต้องผจญภัยกับการกีดขวางจากเจ้าพนักงานสยามหัวเก่าเสียอ่อนใจ  และต้องทำงานหนักเกินจ้ำเป็นไปมากทีเดียว

                      คงไม่จำเป็นที่จะต้องบันทึกวิธีการทำงานลงไว้อย่างละเอียด  มีอยู่คราวหนึ่ง  หลังจากบุกฝ่าข้ามเนินเขามาจนเหนื่อยอ่อน  พอกลับมาถึงที่พักแรมคืนปรากฏว่ากระโจมที่พักหายเกลี้ยง  เหลือแต่ร่องรอยพอให้รู้ว่าช้างเดินไปทางไหนเท่านั้น  คนที่มากับข้าพเจ้าก็ไม่มีใครรู้ทาง  และส่งภาษากันไม่รู้เรื่องด้วย  ตกลงไม่มีหนทางอื่นนอกจากยึดแนวลำน้ำเป็นหลัก  ไต่ตามหินลิ่นไปทั้งมืด ๆ  บางทีบุกน้ำลึกถึงคอ  เย็นเฉียบกว่าจะถึงที่พักได้ก็เลยเที่ยงคืน  อีกคราวหนึ่ง  คนที่ถือตะเกียงคอยส่องเวลาข้าพเจ้าทำการรังวัดอะซิมุทหอบตะเกียง (Referring Lamp)  หนีหายไป  ข้าพเจ้าต้องให้คนรับใช้ชาวอินเดียผู้ซื่อสัตย์ทูนตะเกียงไว้บนหัว  ส่องแนวหาแผงตะเกียง  โชคดีที่พบว่ายังอยู่ในที่เดิม

                    เมื่อกำหนดตำแหน่งของระแหงเสร็จแล้ว  ข้าพเจ้าก็ไม่มีงานอื่นนอกจากทำงานวงรอบไปยังเมืองกำแพง  ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ  ๔๐ ไมล์  แต่งานนี้มีอุปสรรคและมีคนขัดขวางมาก  ทั้งไม่มีผู้ช่วงจึงเป็นอันว่าต้องละการแบ่งซอยเส้นวงรอบนั้นไว้ก่อน  แต่จากกำแพง  (Kampeng)  ไปนครสวรรค์ซึ่งมีระยะทาง ๙๐ ไมล์นั้น  ได้ทำงานวงรอบด้วยโซ่และเข็มทิศเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พอดีกับฝนเริ่มตกหนักน้ำท่วมทั่วไป  ข้าพเจ้าไม่ถึงกับเจ็บป่วยเป็นแต่รู้สึกว่ามีอาการเหนื่อยล้าทางประสาทเนื่องจากความวิตกกังวล  จึงจำต้องเดินทางกลับกรุงเทพ ฯ

                    ภูมิประเทศระหว่างระแหงกับมะละแหม่ง  โดยมากเป็นเนินเขา  สันปันน้ำสำคัญเป็นแนวตรงอยู่เพียง ๑๕ ไมล์  ทั้งสองเมืองติดต่อกันโดยตรงด้วยทางเดินเท้าตัดผ่านสันปันน้ำที่ระดับสูงกว่าสองพันฟุตสายหนึ่ง  ทางสายอื่นใช้ได้แต่ในฤดูแล้ว  เพราะมีหญ้าแห้งสำหรับพวกสัตว์ต่างที่ใช้ในการขนส่งอยู่มากกว่า

    อ่านเพิ่มเติม แชทเฮดAndroid บน Workplace 4 สิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้ใน FIFA  ที่มาของเพลงลูกทุ่ง ซีรีส์ญี่ปุ่นที่ดีที่สุดจาก 20 ปีที่ผ่าน joker 2019 JOKERSlotxo 

    Last Update : 11 พฤษภาคม 2021 (ข้อมูลล่าสุดปี 2021)

    Written by: Pond

    เรื่องก่อนหน้า
    แชทเฮดAndroid บน Workplace
    เรื่องถัดไป
    advice

    © 2021 Zlotxo Game Slot Online